วางแผนภาษี ซื้อตัวลดหย่อนอะไรก่อนดี

วางแผนภาษี ซื้อตัวลดหย่อนอะไรก่อนดี

วางแผนลดหย่อนภาษี
หลายคนอาจรู้สึกว่าเรื่องภาษีเป็นเรื่องที่เข้าใจยาก แต่เชื่อผมนะครับว่าไม่ยากเลย ผมมีหลักการวางแผนภาษี และ ลำดับขั้นของการวางแผนภาษีที่เข้าใจง่ายมาฝาก ใช้เวลาศึกษาไม่นาน แต่ผลลัพธ์ที่ได้นั้นคุ้มค่าต่อคุณภาพชีวิต สุขภาพกาย สุขภาพใจ ในวัยเกษียณอย่างมีนัยยะสำคัญ  อีกทั้งการวางแผนภาษียังช่วยให้เราไม่ติดกับดักภาษีอีกด้วยด้วยครับ (ติดกับดักภาษีเป็นอย่างไร...คลิก) เพียงแค่ลองเปิดใจเท่านั้น มาดูกันเลยครับ
 

เข้าใจการวางแผนภาษี ตามแนวทางของ Simple Wealth
1. เข้าใจลำดับความสำคัญ ของผลิตภัณฑ์ทางการเงินเพื่อวางแผนภาษี...คลิก
2. การจัดพอร์ต วางแผนเกษียณที่ตอบโจทย์ และ ลดหย่อนภาษีได้เต็มสิทธิ์...คลิก

ลำดับความสำคัญ ของผลิตภัณฑ์ลดหย่อนภาษี ควรซื้อตัวไหนก่อนหลัง

ลำดับที่ 1:
ประกันสุขภาพ
[ลดหย่อนภาษี ได้สูงสุด 25,000 ต่อปี รวมประกันชีวิต ไม่เกิน 100,000 บาท]
      ประกันสุขภาพ เป็นผลิตภัณฑ์ทางการเงินลดหย่อนภาษีตัวแรกที่ทุกคนควรมี ซึ่งเบี้ยประกันสุขภาพนั้นมีความเหมาะสมแตกต่างไปตามความเสี่ยงแต่ละช่วงอายุอยู่แล้วครับ (เบี้ยประกันสุขภาพที่เหมาะสม = 2-5% ของรายได้ต่อปี) โดยผมแนะนำให้ซื้อประกันสุขภาพแบบแนบคู่สัญญาประกันชีวิตที่คุ้มครองยาวครับ
       ทำไมควรซื้อประกันสุขภาพแนบกับแผนประกันชีวิตที่คุ้มครองยาว...คลิก
     
     แนะนำแผนประกันสุขภาพ

       สำหรับผู้มีสวัสดิการประกันกลุ่ม
       ผมแนะนำให้วางแผนซื้อความคุ้มครองในส่วนที่ยังขาดอยู่ในเรื่องของค่ารักษาพยาบาลก้อนใหญ่ เช่น ประกันโรคร้ายแรง หรือ อาจจะเป็นประกันสุขภาพที่ให้ส่วนลดสำหรับกรณีที่เราดูแลสุขภาพตัวเองดี หรือ อาจจะเป็นประกันสุขภาพที่มีความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลวงเงินที่สูง แต่มีส่วนที่เราต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่าย 300,000 - 500,000 บาทแรก (Detuctable) ซึ่งจะช่วยให้เราประหยัดค่าเบี้ยประกันได้พอสมควร และ ความคุ้มครองก็จะไม่ทับซ้อนกับสวัสดิการประกันกลุ่มที่เรามีด้วยครับ
       สำหรับผู้ที่ไม่มีสวัสดิการ หรือ เป็นเจ้าของกิจการ
       แนะนำวางแผนซื้อประกันสุขภาพที่ให้ความคุ้มครองรอบด้านครับ
        ดูแผนประกันสุขภาพที่แนะนำ...คลิก

ลำดับที่ 2: 
ประกันชีวิต
 [ต้องเป็นแผนคุ้มครอง 10ปีขึ้นไป ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 100,000 บาทต่อปี]
       ผมแนะนำให้เลือกซื้อแผนประกันชีวิตที่ส่งเบี้ยยาว เพราะแผนประกันที่ส่งเบี้ยยาว นั้นให้ความคุ้มครองที่สูงกว่า และ ผลตอบแทนที่ดีกว่าแบบสั้น ทั้งยังเป็นการช่วยสร้างวินัยทางการเงินให้กับเราได้เป็นอย่างดี  กรณีถ้าเราซื้อประกันชีวิตแบบส่งสั้น สมมติส่งเบี้ย 5 ปี เมื่อถึงปีที่ 6 เราก็ยังทำงานอยู่ ก็ต้องซื้อประกันชีวิตเล่มใหม่อีกอยู่ดี แถมผลตอบแทนของประกันก็จะลดลงเนื่องจากอายุที่มากขึ้นครับ (เบี้ยประกันชีวิตที่เหมาะสม = 10-15% ของรายได้ต่อปี)          
        แผนประกันชีวิตที่แนะนำ
        คนไม่มีห่วง หรือ ห่วงเล็กน้อย = แนะนำประกันสะสมทรัพย์ (เน้นเงินคืน + มีความคุ้มครองชีวิต)
        คนมีภาระ มีครอบครัวต้องดูแล = แนะนำประกันแบบตลอดชีพ (เน้นคุ้มครองชีวิต เงินต้นอยู่ครบ+กำไร)
         ดูแผนประกันชีวิตที่แนะนำ...คลิก

ลำดับที่ 3: 
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund)
[ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 500,000 บาทต่อปี]
      ผลิตภัณฑ์ตัวนี้เป็นตัวลดหย่อนภาษีที่ให้ผลตอบแทนสูงสุดกับพนักงานแล้วครับ เพราะมีส่วนสมทบจากนายจ้างที่เราจะได้มาฟรีๆ เช่น เราเก็บเดือนละ 5,000 นายจ้างสบทบ 5,000 เท่ากับเราจะได้กำไร 100% ตั้งแต่วันแรก และ เรายังนำยอดส่วนนี้ไปลดหย่อนภาษีได้อีกด้วยครับ ดังนั้นผมแนะนำให้เลือกเก็บในฐานสูงสุดเลยครับ โดยหลักการแล้วเมื่อถึงวัยเกษียณ เงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะเป็นเงินก้อนใหญ่ที่สุดของมนุษย์เงินเดือนครับ

ลำดับที่ 4:
ประกันบำนาญ (Annuity)
[ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 15% ของรายได้ และไม่เกิน 200,000 บาทต่อปี]
      สำหรับผมประกันบำนาญ เป็นตัวลดหย่อนภาษีที่น่าสนใจมากๆ เพราะเป็นผลิตภัณฑ์เพียงตัวเดียวที่ จ่ายผลตอบแทนเป็นเงินได้ประจำตั้งแต่อายุ 60 ปี และที่สำคัญคือ "คุ้มครองเงินต้นและการันตีผลตอบแทน” ลูกค้าของผม หลายคนบอกว่าเสียดายที่พึ่งมารู้จักประกันบำนาญในวันที่อายุเยอะแล้ว

       ตัวอย่าง ถ้าวันนี้คุณ อายุ 35 ปี วางแผนส่งเบี้ยประกันบำนาญปีละ 80,000 บาท (เอาไปลดหย่อนภาษีได้) เมื่ออายุ 60 ปี คุณจะได้เงินบำนาญ ปีละ 200,000 บาท (ไม่เสียภาษีด้วยนะ) ไปจนถึงอายุ 85 ปีเลยครับ ส่งเบี้ย 2ล้าน ได้คืน 5.2ล้าน กำไร 3.2 ล้าน แบบการันตี (นี่ยังไม่รวมสิทธิ์จากเงินคืนภาษีเลยนะครับ)
        ดูแผนประกันบำนาญที่แนะนำ...คลิก
  
      ประกันบำนาญ ถือเป็นตัวการช่วยกระจายพอร์ตการลงทุนได้อย่างดีเยี่ยม เพราะผลิตภัณฑ์ลดหย่อนภาษีส่วนใหญ่จะเน้นไปทางด้านการลงทุนเป็นหลัก ซึ่งมีโอกาสขาดทุน การจัดพอร์ตประกันบำนาญไว้ ก็มีอะไรที่การันตีไว้บ้างให้อุ่นใจ ก็ดีไม่น้อยเลยใช่ไหมครับ

ลำดับที่ 5:
SSF (Super Saving Fund)
[ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 30% ของรายได้ และไม่เกิน 200,000 บาทต่อปี]
      ผลิตภัณฑ์ลดหย่อนภาษีตัวนี้เป็นตัวที่มีความยืดหยุ่น เพราะมีเงื่อนไขผูกมัดระยะเวลาไม่ยาวมากคือ 10ปี ปฏิทิน ก็สามารถขายคืนหน่วยลงทุนได้แล้ว สำหรับผม SSF เป็นตัวลดหย่อนภาษีที่เปิดโอกาสให้กับนักลงทุนหน้าใหม่ มีแรงจูงใจในการเริ่มต้นลงทุนในกองทุนรวม แต่อย่างที่ผมแนะนำตามลำดับข้างต้น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund) ก็ยังคุ้มกว่าอยู่ดีครับ เพราะมีส่วนสมทบจากนายจ้างที่จะทำให้เรากำไรทันทีตั้งแต่วันแรก 100%
        สนใจเปิดพอร์ตกองทุนลดหย่อนภาษี เปิดบัญชีเดียว ซื้อขายได้ 18 บลจ. ...คลิก    

ลำดับที่ 6:
RMF (Retirement Mutual Fund)
[ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 30% ของรายได้]
     เงื่อนไขสำคัญของ RMF:

      1. ขายคืนได้ทั้งจำนวณเมื่ออายุ 55 ปีบริบูรณ์ และ ต้องถือหน่วยลงทุน RMF มาต่อเนื่อง 5 ปีเต็ม
      2. ต้องซื้ออย่างต่อเนื่อง อย่างน้อยปีเว้นปี เพื่อรักษาสิทธิ์ลดหย่อนภาษี
      วัตถุประสงค์ของ RMF คือ ช่วยให้เราได้วางแผนการลงทุนด้วยกลยุทธ์ DCA และรอรับเงินก้อนตอนอายุเกษียณ (เมื่ออายุครบ 55 ปีขึ้นไป) RMF มีกองทุนรวมให้เลือกลงทุนได้ทุกระดับความเสี่ยง สำหรับผมมองว่าเจตนาของ RMF นั้นดีมาก แต่ก็ยังมีเงื่อนไขเรื่องภาษีที่ซับซ้อน ผมจึงแนะนำให้ลูกค้าซื้อ RMF เพื่อลดหย่อนภาษีเป็นลำดับสุดท้าย เพื่อให้ง่ายต่อการจัดการในระยะยาวครับ
       สนใจเปิดพอร์ตกองทุนลดหย่อนภาษี เปิดบัญชีเดียว ซื้อขายได้ 18 บลจ. ...คลิก 

 

  สนใจวางแผนการเงิน

 

บทความโดย
อาทิตย์ สกุลเสาวภาคย์กุล, MDRT, FChFP, AFPT

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้