ควรเริ่มซื้อประกันชีวิตตอนอายุเท่าไร ?

ควรเริ่มซื้อประกันชีวิตตอนอายุเท่าไร ?

ควรเริ่มซื้อประกันชีวิตตอนอายุเท่าไร

ประกันชีวิต ทำตอนอายุน้อย เบี้ยจะถูกกว่า ดังนั้นยิ่งซื้อเร็วยิ่งดีครับ สังเกตุได้จากคนที่มีฐานะดีเขาจะทำประกันให้ลูกหลานกันแทบทุกบ้าน
แต่ประกันชีวิตมีหลายแบบ ซึ่งจะตอบโจทย์ที่ต่างกัน ผมมีคำแนะนำดีๆ ในการเลือกซื้อประกันชีวิตแต่ละช่วงวัยสำคัญๆมาฝากครับ

อายุ 0-5 ขวบ = ประกันสุขภาพ

ถึงแม้ช่วงวัยนี้เบี้ยจะแพง แต่ก็คุ้ม เพราะค่ารักษาพยาบาลแพงกว่า(มากกก)! และโอกาสเจ็บป่วยของเด็กก็มีสูงมาก แต่ถ้าลูกของเราไม่ป่วย ก็เหมือนเราได้ซื้อความสบายใจครับ แถมได้บุญทางอ้อม เพราะเบี้ยประกันของลูกเราก็ได้ไปช่วยเป็นค่ารักษาพยาบาลให้กับลูกๆคนอื่นครับ

อายุ 30 ปี = ต้องมีประกันสุขภาพ

หากใครอายุเข้า 30 แล้ว ยังไม่มีประกันสุขภาพ ควรรีบหาซื้อโดยด่วนครับ เพราะสมัยนี้มีโรคใหม่ๆเกิดขึ้นมากมาย และ คนก็เจ็บป่วยเป็นโรคร้ายในช่วงอายุที่น้อยลง อย่าไปหวังพึ่งแต่สวัสดิการบริษัทเพียงอย่างเดียว ยังไงเราก็ควรซื้อประกันสุขภาพของตัวเองไว้บ้างครับ หากเกิดเจ็บป่วยหนักๆขึ้นมา คนที่จะอยู่เคียงข้างคอยรับผิดชอบค่าใช้จ่ายระยะยาวให้เราก็มีแต่บริษัทประกันนี่แหละครับ ส่วนจะเป็นแผนไหนก็ลองปรึกษาตัวแทน หรือ Inbox มาถามเราได้เลยครับ

คนไม่มีภาระ = ประกันสะสมทรัพย์

ช่วยสร้างวินัยการออมที่เป็นระบบให้ผลตอบแทนดีกว่าดอกเบี้ยเงินฝาก และก็มีทุนประกันคุ้มครองชีวิตให้มาบ้าง

คนมีภาระ = ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ

ใครที่มีภาระ ต้องดูแลค่าใช้จ่ายของครอบครัว หรือมีหนี้สิน ยุคนี้ ต้องมีประกันชีวิตแบบตลอดชีพ เพราะให้ความคุ้มครองชีวิตที่สูง ด้วยเบี้ยประกันที่ไม่แพง และประกันแบบนี้ก็มีมูลค่าเงินสด อนาคตหมดเมื่อเราหมดภาระแล้ว เกษียณอายุไป สามารถเวนคืนกรมธรรม์ มาเป็นเงินเกษียณให้ตัวเองพร้อมกำไรได้อีกด้วย

วางแผนเกษียณ = ประกันบำนาญ

ประกันบำนาญจะช่วยตอบโจทย์เรื่องเกษียณได้อย่างดี เพราะให้ผลตอบแทนการันตีที่สูงมาก กรณีอายุ 35 ปี ถ้าส่งเบี้ยประกันบำนาญปีละ 100,000 บาท จะได้รับเงินบำนาญตอนอายุ 60 ปี ปีละ 200,000 บาทเลยครับ แถมสามารถนำไปลดหย่อนภาษีเพิ่มจากประกันชีวิตได้อีก 200,000 บาท อีกด้วยนะ

  สนใจวางแผนการเงิน

 

บทความโดย
อาทิตย์ สกุลเสาวภาคย์กุล, MDRT, FChFP, AFPT

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้